...
Sunday, July 6, 2014
Saturday, July 5, 2014
การดูแลรักษาต้นไม้อย่างถูกวิธี
รดน้ำต้นไม้ให้ถูกเวลาและถูกวิธี ควรรดน้ำแต่เช้าตรู่ เพราะต้นไม้ส่วนใหญ่ จะใช้ประโยชน์จากน้ำในตอน กลางวันเท่านั้น (ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง,photosynthesis)เคล็ดลับก็คือทำยังไงก็ได้ให้เครื่องปลูกมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอในเวลากลางวัน แต่ต้องแห้งหมาดๆในเวลากลางคืน พืชบางชนิดรดน้ำตอนเช้าครั้งเดียวก็พอแล้ว บางชนิดที่ชอบชื้นมากก็รดอีกที ตอนเที่ยงหรือบ่ายๆ (การรดน้ำตอนแดดจัดมากช่วงฤดูร้อน แนะนำ ภายใต้โรงเรือนเพาะชำเท่านั้น เพราะในสภาพกลางแจ้งบางครั้งหยดน้ำที่ค้างที่ใบ อาจทำให้ใบมีอุณหภูมิสูง จนเกิดความเสียหาย และเชื้อก่อโรคแทรกได้) หลีกเลี่ยงการรดน้ำตอนหัวค่ำอย่างเด็ดขาด เพราะหยดน้ำที่ค้างตามซอกใบและวัสดุปลูกในเวลากลางคืน จะเอื้อต่อการเจริญของเชื้อก่อโรคได้เป็นอย่างดีการรดน้ำไม่ควรฉีดแรง ควรรดให้เป็นฝอยละเอียดตกลงที่ใบ แล้วใบจะทำหน้าที่ในการรวบรวมหยดน้ำไหลลงสู่โคนต้น คล้ายกับธรรมชาติของฝนตก ตรงนี้ไม่ควรมองข้ามเพราะได้แฝงไว้ ด้วยกลเม็ดอันแยบยลคือ การรดน้ำเป็นฝอยนอกจะไม่ทำให้ใบเกิดบาดแผลแล้ว ยังเป็นการชำระล้างใบให้สะอาดส่งผลดีทั้งในแง่การสังเคราะห์แสง (ไม่มีฝุ่นบังแสง) และในแง่การล้างเชื้อก่อโรคที่สะสมบนใบและต้นออกไป อีกทั้งการรดน้ำเป็นฝอย จะลดการกระเด็นของดิน-วัสดุปลูกขึ้นมาเกาะที่ใบ ป้องกัน เชื้อโรคเข้าทำลายได้เป็นอย่างดี ในขณะที่การฉีดน้ำแรงเกินไปจะทำให้เกิดบาดแผลโดยไม่ตั้งใจและเชื้อก่อโรคได้ใช้เป็นช่องทาง ในการเข้าทำลาย เห็นได้ว่าผลที่สุดแล้วความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญต่อการปลูกเลี้ยงต้นไม้ ต้นไม้ที่เน่าง่ายเช่นพวกใบนิ่มอวบน้ำหรือต้นที่มีที่มาจากแหล่งหนาวเย็น จำเป็นจะต้องใส่ใจกับความสะอาดเป็นพิเศษ ภาชนะและวัสดุปลูกที่ต้นไม้เป็นโรคตายไม่ควรนำใช้ใหม่
ที่มา http://www.tonmai2u.com/tropic%20planting%20takecare1.html
การดูแลบำรุงรักษา
หลังจากได้ปลูกต้นไม้แล้วผู้ปลูกควรคำนึงถึงอันตรายที่อาจจะเกิดกับต้นไม้ในระยะเริ่มแรกที่มีขนาด
เล็กยังตั้งตัวไม่ได้ เช่น อันตรายจากสัตว์เลี้ยง ยานพาหนะต่าง ๆ หากปลูกจำนวนน้อยอาจทำคอกป้องกัน
หรืออาจทำรั้วกั้นเป็นแนวไว้ได้ สำหรับต้นไม้บางชนิดที่ต้องการความเอาใจใส่มากตั้งตัวได้ยากควรจะมีการ
บังแดดให้ในระยะที่ตั้งตัวไม่ได้ อย่างไรก็ตามการปลูกต้นไม้ให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลบำรุงรักษาที่ดีจากผู้ปลูกมากพอสมควร
- ภายหลังการปลูกต้นไม้โดยปกติควรรดน้ำติดต่อกันทุกวันในเวลาเย็นอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ตลอด 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจให้ลดลงเป็นวันเว้นวัน หรือ 2 วัน ครั้งจนสังเกตเห็นต้นไม้ตั้งตัวได้
การพรวนดินใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นตัวการที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตช้าควรมีการกำจัดวัชพืชโดยการ ถากถาง และพรวนดินรอบโคนต้นไม้ในรัศมี 1 เมตร ปีละ 2 ครั้ง ในขณะพรวนดินถ้ามีปุ๋ยวิทยาศาสตร์จะโรยรอบ ๆ โคนต้นประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ แล้วรดน้ำหรือใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มเติมก็ได้
การตรวจดูแลต้นไม้และฉีดยาป้องกันกำจัดโรคและแมลง ตลอดจนระวังไฟ โดยปกติต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ย่อมถูกแมลง โรค เห็ด รา รบกวนเป็นธรรมดา การเจริญเติบโตของต้นไม้โดยธรรมชาติมีความแข็งแรงอยู่ในตัวพอสามารถสู้ต้านทานกับโรค แมลงและเห็ดราต่าง ๆ ได้ดีพอสมควร หากผู้ปลูกช่วยบำรุงรักษาต้นไม้ให้ถูกวิธี ต้นไม้จะเจริญเติบโตได้รวดเร็วมีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะต่อต้านอันตรายจากสิ่งเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการหมั่นตรวจตราดูแลโรค แมลงที่เกิดกับต้นไม้ และใช้ยาฉีดกำจัดได้ทันเหตุการณ์ในกรณีที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ จะต้องมีการระวังไฟ ควรมีการแผ้วถางวัชพืชปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย และทำแนวป้องกันไฟล้อมรอบ ถ้าหากปลูกเป็นแนวยาว เช่น ตามแนวถนนต้องกำจัดวัชพืชที่จะเป็นเชื้อเพลิงในช่วงปลายฤดูฝน หรือก่อนเข้าฤดูแล้งตลอดแนวทาง การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้อย่างเอาใจใส่ และการปลูกต้นไม้จะสำเร็จหรือไม่ก็อยู่ที่การป้องกันให้ต้นไม้พ้นจากอันตรายจากไฟและอันตรายจากสิ่งแวดล้อมทั้งปวง
ที่มา http://www.forest.go.th/nursery/index.php?option=com_content&view=article&id=312&Itemid=415&lang=th
การปลูกต้นไม้
ต้นไม้ที่นำมาปลูกส่วนใหญ่มักจะบรรจุในถุงพลาสติกให้ใช้มีดกรีดถุงออก ควรระวังคือ อย่าให้รากของต้นไม้ได้รับความกระทบกระเทือนมากนัก เสร็จแล้ววางต้นไม้ลงในหลุมที่ขุดให้ระดับรอยต่อระหว่างลำต้นกับรากอยู่เสมอกับระดับขอบหลุม แล้วกลบหลุมด้วยดินผสมที่เตรียมไว้สำหรับปลูกหรือใช้ดินที่ขุดขึ้นจากหลุมที่เป็นดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยดี อย่าใช้ดินเหนียวที่แน่นหรือดินที่มีกรวดหินมาก ๆ กลบหลุม เพราะจะเป็นปัญหาทำให้รากต้นไม้เจริญเติบโตได้ไม่ดี เมื่อกลบหลุมเสร็จแล้วใช้เท้าเหยียบดินให้แน่นพอประมาณ นำเศษใบไม้หญ้าหรือฟางมาคลุมรอบโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นและป้องกันการกัดเซาะของน้ำในขณะรดน้ำต้นไม้ หาไม้หลักซึ่งมีความสูงมากกว่าต้นไม้พอประมาณมาปักข้าง ๆ ผูกเชือกยึดกับต้นไม้อย่างหลวม ๆ เพื่อช่วยในการทรงตัวของต้นไม้และป้องกันลมพัดโยก เมื่อปลูกเสร็จรดน้ำให้ชุ่มและถ้าเป็นไปได้ควรรดน้ำวันละครั้ง จนต้นไม้ตั้งตัวได้ กรณีที่ปลูกเป็นพื้นที่มากๆ ควรปลูกในช่วงฤดูฝน ขณะฝนตกหรือหลังฝนตกใหม่ ๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการรดน้ำต้นไม้ ภายหลังการปลูกต้นไม้โดยปกติควรรดน้ำติดต่อกันทุกวันในเวลาเย็นอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ตลอด 1 สัปดาห์ การรดน้ำควรรดน้ำให้ชุ่ม ถ้าต้องการทราบว่าได้รดน้ำเพียงพอแล้วหรือไม่ ให้ทดลองขุดดินดูว่าน้ำซึมลง
ไปถึงบริเวณรากต้นไม้หรือยัง ถ้ารดน้ำน้อยไปน้ำจะซึมลงไปไม่ถึงบริเวณรากต้นไม้ การพรวนดินใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นตัวการที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตช้า ควรมีการกำจัดวัชพืชโดยการถากถาง และพรวนดินรอบโคนต้นไม้ในรัศมี 1 เมตร ปีละ 2 ครั้ง ในขณะพรวนดินถ้ามีปุ๋ยวิทยาศาสตร์จะโรยรอบ ๆ โคนต้นประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ แล้วรดน้ำหรือใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มเติมก็ได้
ที่มา http://www.forest.go.th/nursery/index.php?option=com_content&view=article&id=312&Itemid=415&lang=th
ที่มา http://www.forest.go.th/nursery/index.php?option=com_content&view=article&id=312&Itemid=415&lang=th
การถนอมอาหารด้วยวิธีการกวน
การที่นำเนื้อผลไม้ที่สุกแล้วผสมกับน้ำตาล โดยใช้ความร้อน เพื่อกวนผสมให้กลมกลืนกัน โดยมีรสหวาน และให้เข้มข้นขึ้น
การใส่น้ำตาลในการกวนมี 2 วิธี คือ ใส่น้ำตาลแต่น้อยใช้กวนผลไม้ เพื่อทำแยม เยลลี่ เป็นต้น และการกวนโดยใช้ปริมาณน้ำตาลมาก เช่น การกวนผลไม้แบบแห้ง เช่น กล้วยกวน สับปะรดกวน ทุเรียนกวน เป็นต้น
ที่มา http://signuphowto.blogspot.com/2012/02/blog-post_24.html
การถนอมอาหารโดยการเชื่อม
การเชื่อมและการกวนเป็นวิธีถนอมอาหาร โดยอาศัยสารน้ำตาลป้องกันไม่ให้อาหารนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงบูดเน่าเสียหาย
การถนอมอาหารโดยการเชื่อม 3 วิธี ดังนี้
1 การเชื่อมแบบธรรมดา อาจเคี่ยวจนน้ำเชื่อมข้นเหนียว น้ำเชื่อมแทรกซึมเข้าในเนื้อของสิ่งที่เชื่อมแล้วใช้น้ำเชื่อมที่เหลือแช่หล่อไว้อีกชั้นหนึ่ง เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ลูกตาลเชื่อม ขนุนเชื่อม เป็นต้น หรืออาจเคี่ยวต่อไปจนน้ำเชื่อมแก่จัด เมื่อเย็นลงจะแห้งและแข็งตัว
2 การถนอมอาหารด้วยการแช่อิ่ม เป็นการถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลปริมาณมาก คือ นำอาหารมาแช่ในน้ำเชื่อม และเปลี่ยนเพิ่มความเข้มข้นจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วนำมาทำแห้ง มักใช้กับผลไม้ที่มีรสขม รสขื่น หรือรสเปรี้ยวจัด ทำให้สิ่งนั้นรสจืดลงเสียก่อนโดยวิธีต่าง ๆ เช่น แช่น้ำเกลือ แช่น้ำปูน แช่สารส้ม เป็นต้น ผลไม้ที่นิยมนำมาแช่อิ่ม เช่น มะม่วง มะขาม มะกอก มะยม เป็นต้น
3 การฉาบ เป็นการนำเอาผักหรือผลไม้ที่ทำสุกแล้ว เช่น เผือกทอด มันทอด กล้วยทอด เป็นต้น วิธีฉาบคือเคี่ยวน้ำตาลให้เป็นน้ำเชื่อมแก่จัดจนเป็นเกล็ด แล้วเทลงผสมคลุกเคล้ากับของที่ทอดไว้ ทิ้งไว้ให้เย็นจนน้ำเชื่อมเกาะเป็นเกล็ดติดอยู่บนผิวอาหารที่ฉาบ
ที่มา http://signuphowto.blogspot.com/2012/02/blog-post_24.html
การถนอมอาหารโดยการดอง
การถนอมอาหารโดยการดอง โดยใช้จุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยจุลินทร์ทรีย์นั้นจะสร้างสารบางอย่างขึ้นมาในอาหาร ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวอื่นๆได้ ดังนั้นผลของการหมักดองจะทำให้อาหารปลอดภัยจากจุลินทร์ทรีย์ชนิดอื่นๆ และยังทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม เป็นการเพิ่มกลิ่น และรสชาติของอาหารให้แปลกออกไป
การถนอมอาหารโดยการดองมีหลายวิธีดังนี้
2.1 การดองเปรี้ยว ผักที่นิยมนำมาดอง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ผักเสี้ยน ถั่วงอก เป็นต้น วิธีทำคือนำเอาผักมาเคล้ากับเกลือ โดยผสมน้ำเกลือกบน้ำส้มต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทราดลงบนผักที่เรียงไว้ในภาชนะ เทให้ท่วมผักปิดฝาภาชนะไม่ให้ลมเข้า หมักทิ้งไว้ 4-7 วัน ก็นำมารับประทานได้
2.2 การดอง 3 รส คือ รสเปรี้ยว เค็ม หวาน ผักที่นิยมดองแบบนี้คือ ขิงดอง กระเทียมสด ผักกาดเขียน การดองชนิดนี้คือ นำเอาผักมาเคล้ากับเกลือแล้วผสมน้ำส้ม น้ำตาล เกลือ ต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาเทราดลงบนผักปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้
2.3 การดองหวาน ผักและผลไม้ที่นิยมนำมาดอง เช่น มะละกอ หัวผักกาด กะหล่ำปลี เป็นต้น โดยต้มน้ำตาล น้ำส้มสายชู เกลือ ให้ออกรสหวานนำให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น เทราดลงบนผักผลไม้ ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้
2.4 การดองเค็ม อาหารที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์และผัก เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม กะปิ หัวผักกาดเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น ต้มน้ำส้มสายชูและเกลือให้ออกรสเค็มจัดเล็กน้อยให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น กรองใส่ภาชนะที่จะบรรจุอาหารดอง แล้วหมักทิ้งไว้ 4-9 เดือนจึงนำมารับประทาน
2.5 การหมักดองที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ คือการหมักอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โดยใช้ยีสต์เป็นตัวช่วยให้เกิดแอลกอฮอล์ เช่น ข้าวหมาก ไวน์ เป็นต้น
การถนอมอาหารโดยตากแห้ง
การถนอมอาหารโดยตากแห้งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ เป็นวิธีที่ทำให้อาหารหมดความชื้นหรือมีความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเกาะอาศัยและเจริญเติบโตได้ ทำให้อาหารไม่เกิดการบูดเน่า โดยการนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น
ก่อนตากแห้งจะต้องล้างให้สะอาด ถ้าเป็นพวกผักมักลวกด้วยน้ำเดือดเสียก่อน ทำให้หยุดยั้งปฏิกิริยาเคมี บางรายนิยมนำเอาผลไม้ไปรมควันกำมะถันอ่อน ๆ ก่อนที่จะตากแห้ง ซึ่งจะช่วยให้มีสีและรสดีขึ้น ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดรสเปรี้ยวและช่วยกันไม่ให้แมลงกัดกินอีกด้วย อาหารที่นิยมถนอมโดยการตากแห้ง มักเป็นประเภทผัก ผลไม้ และเนื้อ เช่น ดีปลี พริก (พริกไทย) เห็ดบางชนิด (เช่น เห็ดแครงที่ขึ้นตามต้นไม้มะขามที่ล้มตาย เป็นต้น) หมากแห้ง (ฝานก่อนตาม) กล้วยตาก (กล้วยสุกปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ลูกหยี (ปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ส้มแขก (ผลไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลม หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตากแห้ง ใช้ในการปรุงอาหาร) เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เป็นต้น
การตากแห้งอาหารประเภทเนื้อ มักใช้เกลือช่วยเพื่อกันการบูดเน่า และช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น หอยตาก (หอยน้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายหอยแครงแต่ขนาดเล็กว่า ชอบอยู่ในทะเลสาบ อาจลวกให้สุกด้วยน้ำเกลือที่ร้อนจัด หรือคลุกเกลือแล้วตากแดด โดยมากนิยมใช้วิธีหลังจึงเรียกหอยชนิดนี้ตามกรรมวิธีที่นิยมนั้นว่าหอยตาก) ปลาริ้ว (ปลาช่อนตัวโต ๆ ที่นำมาผ่าเป็นริ้ว ๆ แล้วตากแห้ง) ปลาแห้ง (ปลาเกลือ) เนื้อแห้ง (เนื้อเค็ม) เคย (กะปิ) บางชนิดต้มให้สุกเสียก่อนแล้วนำมาตากแห้ง เช่น สารกุ้ง (กุ้งแห้ง) ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบปลา เป็นต้น
ที่มา http://signuphowto.blogspot.com/2012/02/blog-post_24.html
การดูแลเครื่องเรือนไม้
เฟอร์นิเจอร์ไม้ เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับความมากเทียบกับวัสดุอื่นๆที่นำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์
การดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์ไม้ มีขั้นตอนที่อาจจะดูยุ่งยากมากว่าเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากวัสดุอื่นๆ เนื่องจากคุณสมบัติของตัวไม้เองที่มีความคงทนต่อความชื้นและอุณหภูมิต่ำ อีกทั้งยังเป็นที่ชื่นชอบของสัตว์เล็กๆ เช่นมอดและปลวกอีกด้วย แต่ก็แลกมาด้วยความสวยงาม ซึ่งมีสูงกว่าวัสดุประเภทอื่นๆ อีกทั้งมีราคาแพงกว่ามากด้วย
โดยทั้วไปแล้วการดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์ไม้สามารถทำได้ดังนี้
1. รักษาเฟอร์นิเจอร์ของเราให้แห้งอยู่เสมอ เนื่องจากความชื้นสามารถทำลายคุณสมบัติของเนื้อไม้ได้
2. ไม่ปล่อยให้เฟอร์นิเจอร์ไม้ของเราสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะขอกจากอันตรายต่อเนื้อไม้แล้ว ยังอันตรายต่อสารเคลือบไม้ของเราด้วย
3. ไม่ให้เฟอร์นิเจอร์ไม้สัมผัสกับเปลวไฟ เนื้องจากไม้เป็นวัสดุที่ติดไฟง่าย ถึงแม้จะไม่ลุกไหม้ก็สามารถเกิดเม่าหรือเถ้าสีดำได้ ทำให้ความสวยลดลง
4. เมื่อเปื้อนคราบเครื่องดื่มหรืออาหารต้องทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่และเช็ดให้แห้งทันที
5. ทาสารเคลือบหรือชแล็คบ่อยๆ เพื่อรักษาผิวของเนื้อไม้ให้สวยงามอยู่เสมอและป้องกันมอดและปลวกได้ด้วย
การดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์ไม้ขั้นตอนอาจจะมากสักหน่อย แต่สิ่งที่ได้ก็คุ้มค่ามาก เฟอร์นิเจอร์ไม้ของสวยจะสวยเงางามไปอีกนานเท่านานครับ
เครื่องเรือนที่ทำด้วยโลหะ
วัสดุจำพวกโลหะมีคุณสมบัติแข็ง ขัดเงาขึ้นแวววาว นำความร้อนได้ดี ในสมัยโบราณมีการทำเครื่องมือเครื่องใช้โดยใช้เนื้อโลหะบริสุทธิ์ เช่น
เงิน ทองคำ ทองแดง
ต่อมามีการพัฒนาเป็นพวกโลหะผสม
ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ยิ่งขึ้น โลหะที่ทำเครื่องใช้ในบ้านของเรา มีดังต่อไปนี้
1. เหล็ก
เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก
เช่น มีด จอบ
เสียม
และอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านอื่น
ๆ มีวิธีดูแลรักษา ดังนี้
· ใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือ เช่น
มีดสำหรับสับเนื้อ
ไม่ควรนำไปฟันไม้ เป็นต้น
· หลังจากใช้แล้วรีบทำความสะอาดทันที โดยใช้น้ำสบู่ล้างออกจนสะอาด หากสกปรกมากให้ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้ง
· ควรทาน้ำมันเคลือบเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันสนิม
· อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ที่เป็นเหล็กถูกน้ำนาน
ๆ หรือแช่น้ำนาน ๆ เพราะจะทำให้เป็นสนิม
ถ้ามีสนิมขึ้น
ให้ใช้ฝอยขัดสนิมให้หมด
เช็ดให้แห้ง ใช้น้ำมันทากันสนิม
แล้วเก็บเข้าที่
เครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ซอง ปลอก
หรือเก็บไว้ในตู้ที่มิดชิด
ไม่วางไว้ในที่ลมพัดผ่าน
เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม
2. เครื่องเงิน
เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะเงิน
เช่น ชุดน้ำชา ขันเงิน
พาน โดยธรรมชาติของเครื่องเงิน ถ้าถูกอากาศจะเกิดปฏิกิริยา ทำให้เครื่องเงินหมองคล้ำ การดูแลรักษาควรปฏิบัติ ดังนี้
· ใช้แล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกทันที
· ล้างด้วยน้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะ หรือน้ำมะนาวผสมสบู่ ขัดให้สะอาด แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
· ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่ล้าง แล้วขัดให้สะอาด
· ห้ามใช้ใยขัดโลหะ หรือฝอยขัดหม้อขัดเครื่องเงิน เพราะอาจทำให้เป็นรอยขีดข่วน และสึกหรอได้
ที่มา http://www.aseanliving.com/blog/decor/20-leather-furniture.html
การดูแลรักษาของเฟอร์นิเจอร์ "หนัง"
สำหรับคนที่มีบ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้า หรือแม้แต่ออฟฟิศ ล้วนแต่ต้องมีเฟอร์นิเจอร์มาอำนวนความสะดวกกันอยู่แล้ว ในบรรดาวัสดุที่นิยมนำมาใช้ประดับเฟอร์นิเจอร์และนำมาเป้นวัสดุรองนั่งมีหลายประเภท แต่วันนี้ขอนำเสนอเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจาก “หนัง” หนังเป็นวัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งห้อง ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ ตู้ เตียง หรือเก้าอี้ต่างๆ โดยส่วนมากเรามักจะเห็นหนังถูกนำมาเป็นวัสดุบุเฟอร์นิเจอร์ เช่น เบาะหนังรองนั่ง เท้าแขนของเก้าอี้และโซฟา แต่เฟอร์นิเจอร์บางชิ้นก็นำหนังมาดัดแปลงเพื่อเพิ่มความแปลกใหม่และหรูหราให้มากขึ้น เช่น เตียงเดย์เบด โต๊ะ กล่อง ชั้นเก็บของต่างๆ ฯลฯ เฟอร์นิเจอร์หนังเป็นที่นิยมใช้ในที่พักอาศัย รวมถึงยังเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่บอกฐานะและรสนิยมอันหรูหราได้เป็นอย่างดี ซึ่งเฟอร์นิเจอร์ประเภท "หนัง" เป็นวัสดุหนึ่งที่นิยมใช้มากที่สุดด้วยลักษณะที่มีความนุ่มนวล สีสันที่สวยงามเป็นธรรมชาติดูมีราคา ไม่สะสมความร้อน และไม่อมฝุ่นละอองต่าง
ประเภทของ"หนัง" ที่นิยมใช้ทำเฟอร์นิเจอร์มีอยู่ 2 ประเภทหลัก คือ หนังแท้และหนังเทียมๆ
1.หนังแท้หรือหนังธรรมชาติ มีความโดดเด่นเรื่องความหรูหราดูสง่างามมีรสนิยมอย่างมาก หนังที่ใช้มักมาจากทั้งหนังวัว หนังควาย หนังม้า ฯลฯ เฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งที่ทำจากหนังแท้จะมีราคาแพงแต่ในความรู้สึกเมื่อสัมผัสที่ดีเป็นธรรมชาติ มีความนุ่มนวลในตัว และดูดีมีราคาในตัวเอง
2.หนังสังเคราะห์ ซึ่งไม่ใช่หนังธรรมชาติ แต่เกิดจากกรรมวิธีทางเคมีเพื่อทดแทนหนังธรรมชาติ โดยผลิตออกมาคล้ายกับหนังแท้ ซึ่งทุกวันนี้หนังสงเคราะห์มีการพิมม์สีและลายได้สวยเหมือนหนังแท้เลยทีเดียวยิ่งลักษณะภายนอกเหมือนหนังธรรมชาติมากเท่าไร ราคาก็จะยิ่งแพงมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้นหากคิดจะซื้อเฟอร์นิเจอร์หนังควรจะซื้อหนังแท้หรือหนังเทียมดี ซึ่งหลายๆคนคิดว่าควรจะซื้อหนังแท้เป็นหลัก แต่เรามาดูมาดูข้อเสียของหนังแท้และหนังสังเคราะห์กันก่อนที่จะติดสินใจซื้อกันก่อนดีกว่า
ข้อเสียของหนังแท้
แม้จะมีผิวที่สวยงามและนุ่มเป็นธรรมชาติกว่าหนังเทียม แต่ก็มีข้อเสียไม่น้อยเลย เช่น ราคาแพง ต้องหมั่นดูแลรักษาเช็ดและเคลือบเงาอยู่เสมอ เนื่องจากหนังแท้จะยังคงมีไขมันหลงเหลืออยู่ เมื่อไขมันระเหยสลายไปจะทำให้หนังแข็งกระด้างและเกิดแตกลายงาได้
แม้จะมีผิวที่สวยงามและนุ่มเป็นธรรมชาติกว่าหนังเทียม แต่ก็มีข้อเสียไม่น้อยเลย เช่น ราคาแพง ต้องหมั่นดูแลรักษาเช็ดและเคลือบเงาอยู่เสมอ เนื่องจากหนังแท้จะยังคงมีไขมันหลงเหลืออยู่ เมื่อไขมันระเหยสลายไปจะทำให้หนังแข็งกระด้างและเกิดแตกลายงาได้
ข้อเสียของหนังสังเคราะห์
หนังเทียมนั้นจะมีความทนทานและรับน้ำหนักได้ไม่มากนัก ฉีกขาดง่ายกว่าหนังแท้ และรักษารูปทรงให้คงเดิมได้ยาก เรื่องความรู้สึกหรือผิวสัมผัสยังคงมีความแตกต่างจากหนังแท้อยู่พอสมควรสำหรับเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งที่ทำจากหนังแท้ต้องดูแลรักษามากกว่าหนังสังเคราะห์พอสมควร ซึ่งอันที่จริงแล้วเฟอร์นิเจอร์และของใช้ทุกชนิดล้วนต้องการการดูแลรักษาด้วยกันทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นผ้า ไม้ เหล็ก หรือพลาสติก เพียงแต่ว่าวัสดุใดจะมีจุดอ่อนด้านไหน และต้องดูแลรักษาด้านไหนเป็นพิเศษ
การดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์และของใช้ที่ทำจากหนัง
1.ห้ามใช้สารเคมี เช่น น้ำมันสน น้ำยาขัดเงา และน้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดต่างๆ เช็ดเด็ดขาด เพราะน้ำยาเหล่านี้จะทำลายผิวนอก ของหนังให้ซีดและแห้ง โดยเฉพาะหนังสังเคราะห์ที่แม้จะมีหน้าตาคล้ายหนังแท้มากแค่ไหน แต่อย่าลืมว่าหนังสังเคราะห์นั้นก็คือพลาสติกชนิดหนึ่งนั้นเอง
2.ถ้าเป็นหนังแท้ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดหนังแท้โดยแฉพาะ
3.ไม่ควรวางเฟอร์นิเจอร์หนังไว้ใกล้ที่ร้อน ชื้นแฉะ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้อายุการใช้งานของหนังสั้นลงและทำให้เกิดเชื้อรา
4.การทำความสะอาดโดยทั่วไปสามารถใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดได้
ประวัตส่วนตัว
ชื่อเล่น อ๋อง
อายุ 15 เกิดวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2541
ที่อยู่ 176/26 หมู่1 ซอยวัดโพธิ์ 14
ถนน วัดโพธิ์-บางใหญ่ ตำบน
มะขามเตี้ย
อำเภอเมืองฯ จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
กำลังศึกษาที่ :
โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
DI Line: Ong.sk
IG: ไม่มี
Facebook: Setthakit
komkrit
Hi5: ไม่เล่นน
♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫ ♪ ♫
Subscribe to:
Posts (Atom)